สภาพเดิมๆ ต่อดิบแกะกล่อง |
ข้อมูลทางเทคนิค
Model number: MA-06
Code name: Val VaroUnit type: space combat mobile armor
Manufacturer: Principality of Zeon
Operator(s): Principality of Zeon; Kelly Layzner
First deployment: UC 0079
Accommodation: pilot only, in standard cockpit in main body
Dimensions: overall length 68.0 meters; overall width 46.0 meters; overall height 22.5 meters
Weight: empty 254.1 metric tons; max gross 379.8 metric tons
Armor materials: titanium/ceramic composite
Powerplant: Minovsky type ultracompact fusion reactor, output rated at 26030 kW
Propulsion: rocket thrusters: 3 x 184000 kg, 3 x 56000 kg
Performance: maximum thruster acceleration 1.90 G
Fixed armaments: large mega particle cannon, mounted in main body; 2 x 2-tube missile pod, mounted on main body; 2 x anti-aircraft beam gun, mounted on main body; 4 x 110mm vulcan gun, fire-linked, mounted in main body; 3 x plasma leader, stored on main body, delivers plasma electrical charge to target upon deployment
ประวัติ
ในช่วงสัปดาห์ท้ายๆของสงครามหนึ่งปี โมบิล อาร์เมอร์ เอ็มเอ 06 วาล วาโล (MA-06 Val-Walo) ถูกพัฒนาขึ้นโดยราชรัฐซีออน บนพื้นฐานของเอ็มเอ 05 บิ๊กโกร (MA-05 Bigro) ในขณะที่บิ๊กโกรถูกออกแบบให้เป็นอาวุธจู่โจมต่อต้านยานรบ วาลวาโล ถูกออกแบบให้เป็นทั้งยูนิตต่อต้านยานรบและเป็นยูนิตต่อต้านโมบิลสูทแบบประจัญบานระยะประชิด ติดตั้งอาวุธ ปืนใหญ่มหาอนุภาคอันทรงพลังหนึ่งกระบอก ปืนลำแสงต่อต้านอากาศยานสองกระบอก และปืนกลวัลแคนขนาด 110 มม. (ยิงแบบเชื่อมต่อ) จำนวนสี่กระบอก กระเปาะมิสไซล์แบบคู่ จำนวน 2 ชุด และกงเล็บขนาดใหญ่สองข้าง ซึ่งทั้งหมดใช้ได้ดีกับภารกิจทั้งสองแบบ อาวุธอื่นๆที่อยู่ในคลังแสงต่อต้านเอ็มเอส (โมบิลสูท) ได้แก่ “พลาสมา ลีดเดอร์” สามชุด ซึ่งปรับปรุงมาจาก อัดแซม ลีดเดอร์ ที่เคยใช้ในโมบิลอาร์เมอร์ เอ็มเอเอ็กซ์ 03 อัดแซม (MAX-03 Adzam) พลาสมาลีดเดอร์นี้เมื่อถูกปล่อยออกมารอบๆเป้าหมาย มันจะเปิดออกและกระจายพลาสมากระแสไฟฟ้าอันทรงพลังที่ถูกประจุเอาไว้ออกมา ทำให้เกิดการรบกวนและลัดวงจรระบบไฟฟ้าและการควบคุมโมบิลสูท ถึงแม้ว่าจะผลิตออกมาไม่ทันใช้ในสงคราม อย่างไรก็ตามมันก็ถูกสร้างขึ้นมาจำนวนหนึ่ง
ขั้นตอนการทำโมเดล
ตัวโมเดล MA-06 Val-Walo ผลิตโดยแบนได ขนาด 1:550 จัดอยู่ในกลุ่ม HGM (ไฮเกรดเมคานิค) ตัวโมเดลเดิมมีสภาพผ่ากลางยานแบบแฮมเบอร์เกอร์ ต้องอุดขัด รายละเอียดที่ให้มามีไม่มากนักตามสภาพและราคาของโมเดลในสเกลนี้ แต่ก็ถือเป็นโอกาส จัดการเดินลายใหม่ เพิ่มดีเทลรายละเอียดของเมคานิคต่างๆเข้าไป ทำสีโดยเอายืมคู่สีมาจาก Ironman เสร็จแล้ววอชด้วยอีนาเมล (แต่บางไปหน่อย) ติดดีคอลอีกหนึ่งคืน สุดท้ายปิดงานด้วยเคลียร์มันและด้าน เป็นโมเดลตัวแรกที่ทำสีเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ใช้เวลาไปสองสัปดาห์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น